CCG ผลิตภัณฑ์น้องใหม่มาแรงปี 59 ไม่ใช่ยา

คำนวนค่า BMI

ค่าที่ควรรู้จัก หากคิดจะลดน้ำหนัก

สาวๆ ที่กำลังวางแผนจะลดน้ำหนัก ต้องอ่านทางนี้เลยจ้ะ เพราะว่าหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้น้ำหนักตัวเราลดลงนั่นก็คือ “สมดุลของพลังงาน” ระหว่างพลังงานที่เราได้รับเข้าไป กับพลังงานที่ใช้ไปในแต่ละวัน ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ดังนั้นการคำนวณหาค่าพลังงานของเรามีผลที่ดีต่อการวางแผนการลดน้ำหนักค่ะ
  1. ค่า BMI หรือค่าดัชนีมวลกาย เป็นค่าที่ใช้ในการประเมินเบื้องต้น ด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ ว่าเราน้ำหนักเกินหรือไม่ ค่าดัชนีมวลกายสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักและส่วนสูงของเรา โดยนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร)
                 
ค่าที่คำนวณได้สามารถนำไปแปลผลได้ตามตารางด้านล่างเลยค่ะ
 ที่มา        http://www.nutrilite.co.th/nutrilite/checkup/bmi.html
  1. ค่า BMR (Basal Metabolic Rate) คือค่าพลังงานพื้นฐานที่ใช้สำหรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่ไม่มีกิจกรรมใด ๆ  เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เรียกง่าย ๆ ก็คือพลังงานที่เราต้องการเพื่อรอดชีวิต
การคำนวณค่า BMR สามารถทำได้จากสูตรของ Mifflin-St Jeor ดังนี้ค่ะ
BMR สำหรับผู้ชาย = 10 x น้ำหนักตัวกิโลกรัม + 6.25xส่วนสูงเซนติเมตร – 5xอายุปี + 5
BMR สำหรับผู้หญิง = 10 x น้ำหนักตัวกิโลกรัม + 6.25xส่วนสูงเซนติเมตร – 5xอายุปี -161
  1. TDEE (Total Daily Energy Expenditure) คือค่าของพลังงานที่ใช้ไปในแต่ละวันเมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เรียกง่าย ๆ ก็คือ พลังงานที่เราต้องการเพื่อใช้ชีวิต สามารถคำนวณได้ดังนี้คือ

    TDEE = BMR x Activity factor (ปัจจัยด้านกิจกรรม)
 ค่า Activity factor ขึ้นอยู่กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งสามารถกำหนดได้ดังนี้คือ
  • ออกกำลังกายน้อยมาก หรือไม่ออกเลย  Activity factor = 1.2
  • ออกกำลังกาย 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์            Activity factor = 1.375
  • ออกกำลังกาย 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์            Activity factor = 1.55
  • ออกกำลังกาย 6-7 ครั้งต่อสัปดาห์            Activity factor = 1.7
  • ออกกำลังกายอย่างหนักมากทุกวัน          Activity factor = 1.9
หลังจากที่ทราบค่าต่าง ๆ เบื้องต้นแล้ว เราสามารถนำไปคำนวณและวางแผนการควบคุมน้ำหนักกันได้เลยค่ะ เพราะ การควบคุมน้ำหนัก คือ การรักษาสมดุลพลังงาน

พลังงานที่ได้รับมากกว่าพลังงานที่ใช้    ------->         พลังงานเกินดุล        ------->           สะสมเป็นไขมัน+น้ำหนักเพิ่ม
พลังงานที่ได้รับเท่ากับพลังงานที่ใช้      ------->         พลังงานสมดุล         ------->            น้ำหนักคงที่
พลังงานที่ได้รับน้อยกว่าพลังงานที่ใช้   ------->         พลังงานขาดดุล       ------->            ร่างกายนำไขมันออกมาใช้+น้ำหนักลด
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.ss.mahidol.ac.th
http://www.nutrilite.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น